สารบัญ
Introducetion
Basic
Format
List
Picture
Link
Table
Frame
Form



เวปเพจเป็นสื่อที่แตกต่างจากเอกสารธรรมดา เพราะมันเป็นสื่อสองทาง นอก จากผู้ใช้จะสามารถสื่อสารกับเราได้โดยใช้ E-Mail เราสามารถสร้างแบบสอบถาม หรือ Form ในเวปเพจเพื่อขอข้อมูลที่ต้องการจากผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเวปเพจ ของเราได้
ปัจจุบันมีการใช้แบบสอบถามในเวปเพจเพื่อเก็บข้อมูล ตั้งแต่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่มาเยี่ยมชมเวปเพจ การสั่งซื้อสินค้า ไปจนถึงการรวบรวมความคิด เห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่กำลังอยู่ในความสนใจ
ในส่วนนี้เราจะกล่าวถึงการสร้างแบบสอบถาม และการนำข้อมูลที่ได้มาใช้งาน

สารบัญเรื่อง

* การทำงานของ Form
* ตัวอย่างการสร้างแบบสอบถาม
* ช่องกรอกข้อมูลแบบ Text Box
* การสร้างปุ่มส่งและยกเลิกข้อมูลในแบบสอบถาม
* ช่องกรอกข้อมูลแบบ Password
* ช่องกรอกข้อมูลแบบ Checkbox
* ช่องกรอกข้อมูลแบบ Radio Button
* ช่องกรอกข้อมูลแบบ Text Area
* ช่องกรอกข้อมูลแบบเลือก หรือ Selection Box


เข้าใจรูปแบบการทำงานของ Form และ CGI
ข้อมูลที่เราได้รับจากแบบสอบถาม จะไม่มีประโยชน์หากไม่มีโปรแกรมที่นำ ข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลต่อ วิธีการนำข้อมูลไปประมวลผลนั้นมีชื่อเรียกว่า CGI ย่อ มาจาก Common Gateway Interface และโปรแกรมที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับ จากแบบสอบถาม มีชื่อเรียกว่า CGI Script
CGI เป็นโปรแกรมตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ผู้ใช้กับเครื่อง Server โดย สามารถรวบรวมข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนมาให้เพื่อประมวลผล เมื่อเสร็จแล้วก็สามารถ ส่งผลลัพธ์กลับไปยังผู้ใช้ได้ โปรแกรม CGI สามารถสร้างได้ด้วยภาษาต่าง ๆ เช่น C++, Pascal, Java, Perl, Visual Basic ฯลฯ เป็นต้น หรือ อาจสร้างด้วยโปรแกรมที่ใช้สร้าง CGI โดยเฉพาะก็ได้ เช่น Windows CGI1.2/TPWCGI1.1 (Pascal for Windows)

เมื่อนำไปใช้งานจริง จะใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ร่วมกับคำสั่ง <FORM> ได้แก่

ตัวเลือก
ความหมาย
ACTION ใช้ระบุชื่อ Script ที่ Server เรียกขึ้นมาใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาใน Form (เป็นโปรแกรมที่อยู่ใน Web Server)

METHOD="GET" หรือ "POST" METHOD ใช้กำหนดว่าข้อมูลจะถูกส่งมาประมวลผลโดยโปรแกรมที่ Server อย่าง โดยกำหนดให้ 2 แบบ คือ GET และ POST โดยมีรายละเอียดดังนี้
- GET เป็นการนำข้อมูลไปต่อท้ายสุด แล้วประมวลผลที่เดียว
- POST จะนำข้อมูลส่งไปที่ Server แยกกันไปเป็นแต่ละ transaction

ENCTYPE ใช้สำหรับเข้ารหัสเพื่อรักษาความลับของข้อมูล โดยระบุเป็น MIME Type







ตัวอย่างการสร้างแบบสอบถาม
เราต้องใช้คำสั่ง FORM เพื่อสร้างแบบสอบถามในเวปเพจ ซึ่งมีรูปแบบดังนี้

<FORM METHOD="วิธีการโอนย้ายข้อมูล" ACTION="โปรแกรมที่ใช้ในการประมวลข้อมูล">
...
</FORM>

ตัวอย่าง






ช่องกรอกข้อมูลแบบ Text Box
การสร้างช่องกรอกข้อมูล (TEXT BOX) สำหรับป้อนข้อมูล โดยมีรูปแบบดังนี้

<INPUT TYPE="TEXT" NAME="ชื่อ" SIAE="ขนาดสูงสุด">

ตัวอย่าง

จากรูป เป็นตัวอย่างการสร้าง Form แบบกรอกข้อมูลลงไป โดยผลลัพธ์คุณสามารถดูได้โดยการกดปุ่ม ขอดูตัวอย่าง ครับ





สร้างปุ่มส่งและยกเลิกข้อมูลในแบบสอบถาม
หลังจากที่เราได้สร้างช่องสำหรับป้อนข้อมูล ต่อไปเราต้องสร้างปุ่ม SUBMIT ซึ่งเมื่อเรา Click Mouse ที่ปุ่ม นี้ข้อมูลในแบบสอบถามจะถูกส่งไปที่เครื่อง Server เพื่อประมวลผล เราสามารถสร้างปุ่ม SUBMIT ในแบบสอบถามได้โดยพิมพ์

<INPUT TYPE="SUBMIT">

ในกรณีที่ต้องการป้อนข้อมูลใหม่ทั้งหมด เราสามารถสร้างปุ่ม RESET ได้โดยการพิมพ์

<INPUT TYPE="RESET">

ตัวอย่าง

จากรูป จะเห็นว่ามีการส้างปุ่มขึ้นมา 2 ปุ่ม คือ ปุ่ม SUBMIT และ ปุ่ม RESET โดยคุณสามารถดูผลลัพธ์ได้โดยการกดปุ่ม ขอดูตัวอย่าง ครับ





ช่องกรอกข้อมูลแบบ Password
เป็นช่องสำหรับทำหน้าที่เช่นเดียวกับการป้อนข้อมูลธรรมดา แต่จะแทนสิ่งที่เราพิมพ์ด้วยเครื่องหมาย "*" ใช้สำหรับพิมพ์รหัสผ่าน โดยมีรูปแบบดังนี้

<INPUT TYPE="PASSWORD" NAME="ชื่อ" SIZE="ขนาดสูงสุด">

ตัวอย่าง

จากรูป เป็นการกำหนดช่องกรอกข้อมูลแบบ Password โดยมีชื่อว่า password และมีขนาดการกรอกข้อมูลได้ 10 ตัวอักษร โดยคุณสามารถดูผลลัพธ์ได้โดยการกดปุ่ม ขอดูตัวอย่าง ครับ





ช่องกรอกข้อมูลแบบ Checkbox
เป็นส่วนของการให้ผู้ใช้สามารถเลือก หรือยกเลิกสิ่งที่เลือกได้โดยการ Click Mouse เราสามารถกำหนด Check ให้มีเครื่อหมาย ไว้ตั้งแต่เริ่มได้

<INPUT TYPE="CHECKBOX" NAME="ชื่อ" VALUE="กำหนดค่าตัวเลือก">

ตัวอย่าง

จากรูป เป็นการกำหนดตัวเลือก 5 ตัวเลือก โดยตัวเลือกที่ 5 จะมีการกำหนดค่าเริ่มต้นให้ถูกเลือกไว้ก่อนโดยการใช้คำสั่ง Checked โดยคุณสามารถดูผลลัพธ์ได้โดยการกดปุ่ม ขอดูตัวอย่าง ครับ





ช่องกรอกข้อมูลแบบ Radio Button
การใช้ Radio Button มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ Check Box แต่มีความสามารถที่จะให้ผู้ใช้เลือกตัวเลือกได้เพียง 1 ตัวเลือกเท่านั้น

<INPUT TYPE="RADIO" NAME="ชื่อ" VALUE="กำหนดค่าตัวเลือก">

ตัวอย่าง

จากรูป จะสังเกตเห็นว่าในส่วนของการกำหนด NAME จะมีชื่อที่เหมือนกัน เนื่องจากเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน ซึ่งตรงจุดนี้เองจะทำให้สามารถเลือกตัวเลือกได้เพียง 1 ข้อเท่านั้น โดยคุณสามารถดูผลลัพธ์ได้โดยการกดปุ่ม ขอดูตัวอย่าง ครับ





ช่องกรอกข้อมูลแบบ Text Area
ในกรณีที่มีข้อมูลที่ต้องป้อนในฟอร์มมากกว่า 1 บรรทัด เราสามารถใช้ Text Area ได้ โดยมีรูปแบบดังนี้

<TEXTAREA ROWS="จำนวนแถว" COLS="จำนวนตัวอักษร" NAME="ชื่อ">
</TEXTAREA>

ตัวอย่าง

จากรูป จะเป็นการกำหนด Text Area ที่มีขนาดบรรทัด 5 แถว และจำนวนตัวอักษร 65 ตัวอักษร โดยคุณสามารถดูผลลัพธ์ได้โดยการกดปุ่ม ขอดูตัวอย่าง ครับ





ช่องกรอกข้อมูลแบบเลือก หรือ Selection Box
ถ้าเรามีรายการข้อมูลจำนวนมากที่ให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ การใช้ Radio Buttons จะใช้พื้นที่มากเกินไป วิธีที่ดีกว่า คือ การใช้ Selection Box โดยมีรูปแบบดังนี้

<SELECT NAME="ชื่อ">
<OPTION> ข้อความ
<OPTION> ข้อความ
<OPTION> ข้อความ
</SELECT>

ตัวอย่าง

คุณสามารถดูผลลัพธ์ได้โดยการกดปุ่ม ขอดูตัวอย่าง ครับ





Create By Mr.Phadungsak Sangsawong | ICQ # is 36212331
Copyright 1999 A.C.T. All rights reserved.
Last Modify : 18/01/2000