สารบัญ
Introducetion
Basic
Format
List
Picture
Link
Table
Frame
Form


การใช้ Frame เป็นการแบ่งหน้าจอของบราวเซอร์ออกเป็นส่วนย่อย ทำให้ เราสามารถใช้พื้นที่ทั้งหมดบนหน้าจอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กำหนดให้ หน้าจอส่วนบนสุด แสดงชื่อและสัญลักษณ์ของหน่วยงาน หน้าจอส่วนล่างแสดงปุ่มต่าง ๆ เพื่อ เปิดดูเวปเพจหน้าอื่น ๆ และหน้าจอส่วนกลางสำหรับแสดงเนื้อหา เมื่อเราใช้ แถบเลื่อนส่วนที่แสดงเนื้อหาขึ้นลงปุ่มและชื่อหน่วยงานที่อยู่ในส่วนอื่นจะไม่ เลื่อนตกจอไปด้วย


สารบัญเรื่อง

* การลองสร้าง Frame
* การกำหนดขนาดให้กับ Frame
* การใช้แถบเลื่อนใน Frame
* การสร้าง Frame ซ้อนกัน
* การใช้ Link ให้สัมพันธ์กันใน Frame


การลองสร้าง Frame
เมื่อเราต้องการแบ่งหน้าจอเป็น Frame ตามแนวนอน เราต้องระบุขนาด ของ Frame แต่ละส่วนด้วยคำสั่ง
<FRAMESET COLS="ส่วนที่1%,ส่วนที่2%">
<FRAME NAME= "ชื่อ Frame" SRC = "เวปเพจที่ต้องการแสดงใน Frame">
<FRAME NAME= "ชื่อ Frame" SRC = "เวปเพจที่ต้องการแสดงใน Frame">
...
</FRAMESET>

อธิบายคำสั่ง
- ส่วนที่ 1%, ส่วนที่ 2% เป็นเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่บนหน้าจอบราวเซอร์ โดยผลรวมทั้งหมดจะเท่ากับ 100%
- คำสั่ง <FRAMESET...> จะถูกนำมาใช้แทนคำสั่ง <BODY>
ดังตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการใช้ Frame แบ่งหน้าจอออกเป็น 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนแสดงเวปเพจชื่อ web1.html, web2.html และ web3.html ตาม ลำดับดังภาพด้านล่างนี้


จากรูป แบบตัวอย่างนี้ เป็นการแบ่งหน้าจอในแนวนอนซึ่งเราจะใช้คำสั่ง ROWS ถ้าต้องการดูตัวอย่าง ก็กดที่ปุ่มด้านล่างได้เลยครับ


หรือถ้าเราต้องการแบ่งหน้าจอในแนวตั้งก็สามารถทำได้ครับ โดยการใช้คำสั่ง COLS และ ROWS ดังภาพด้านล่างครับ


จากรูป แบบตัวอย่างนี้ เป็นการแบ่งหน้าจอในแนวตั้งซึ่งเราจะใช้คำสั่ง Cols ถ้าต้องการดูตัวอย่าง ก็กดที่ปุ่มด้านล่างได้เลยครับ





การกำหนดขนาดให้กับ Frame
Frame ที่สร้างในตัวอย่างที่ผ่านมานั้น เราสามารถปรับขนาดได้ โดยการ Click Mouse ที่ กรอบของ Frame และ Drag Mouse จนได้ขนาดที่ต้องการ
แต่ถ้าในกรณีที่เราต้องการให้ Frame มีขนาดที่แน่นอน และไม่ต้องการให้ปรับขนาดได้ ให้ ใช้คำสั่ง NORESIZE แทรกในคำสั่ง <FRAME...>

ตัวอย่าง

จากรูป แบบตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าถ้าเราใช้ คำสั่ง NORESIZE แทรกในคำสั่ง <Frame...> ผู้ ที่เข้ามาชมเว็บเพจก็จะไม่สามารถปรับขนาดของ Frame ได้ โดยตัวอย่างดูได้จากการกดที่ปุ่มตัวอย่างด้านล่าง และลองขยาย Frame ดูได้ครับ ซึ่งจะเห็นว่าไม่สามารถขยาย Frame ได้เลย





การใช้แถบเลื่อนใน Frame
โดยปกติ Frame ที่มีพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับแสดงเนื้อหา จะมีแถบเลื่อน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลื่อนดูข้อมูลในส่วนที่เหลือได้
โดยเราสามารถกำหนดให้ Frame ไม่แสดงแถบเลื่อนได้โดยการใช้คำสั่ง SCROLLING="NO" หรือ ถ้าต้องการให้แสดงก็จะกำหนดคำสั่ง SCROLLING="YES" และถ้าต้องการให้ตัวบราวเซอร์เป็นผู้ตรวจ สอบแบบอัตโนมัติก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง SCROLLING="AUTO" ซึ่งคำสั่งเหล่านี้ จะถูกแทรกอยู่ในคำสั่ง <FRAME...>

ตัวอย่าง

จากรูป แบบตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าใน Frame1 จะไม่มีการใช้แถบเลื่อนไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ส่วน Frame2 จะมีการใช้แถบเลื่อนเสมอตลอดเวลา และ Frame3 จะมีการใช้แถบเลื่อนแบบอัตโนมัติ คือ ถ้าบราวเซอร์เกิดตรวจสอบว่ามีข้อมูลเกินกว่าที่ Frame3 จะแสดงได้ก็จะปรากฎแถบเลื่อนขึ้นมาให้ใช้ ซึ่ง ถ้าต้องการดูตัวอย่างผลลัพธ์จาก Souce Code ที่เขียนกดที่ปุ่มดูผลลัพธ์ได้เลยครับ





การสร้าง Frame ซ้อนกัน
หากเราต้องการให้มี Frame แบ่งหน้าจอทั้งแนวตั้ง และในแนวนอน เราต้องกำหนด Frame ซ้อน กันดังตัวอย่างในรูป

ตัวอย่าง

จากรูป แบบตัวอย่างนี้ จะเห็นว่า Frame จะถูกแบ่งออกเป็นแนวนอนก่อน 2 แถว โดยแถวที่ 1 จะ แสดงข้อมูลของ web1.html และแถวที่ 2 จะถูกแบ่งย่อยในลักษณะของแนวตั้งเพิ่มขึ้นอีก 2 ช่อง โดยช่องแรก จะแสดงข้อมูลของ web2.html และ ช่องที่สองจะแสดงข้อมูลของ web3.html ตามลำดับ โดยสามารถดู ผลลัพธ์ได้จากการกดที่ปุ่มด้านล่างนี้ครับ





การใช้ Link ให้สัมพันธ์กันใน Frame
เมื่อเราแบ่งหน้าจอเป็น Frame การกำหนด Link เพื่อเชื่อมต่อกับเวปเพจ หน้าอื่นจะต้องระบุ Frame ที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น ถ้าเราต้องการ ให้ Link ใน Frame ด้านซ้ายที่เรา Click Mouse ทำให้ Frame ด้านขวาเปลี่ยน หน้าเวปเพจที่แสดง เราจะต้องกใช้คำสั่ง

TARGET = "ชื่อ FRAME ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง"

โดยคำสั่งนี้จะแทรกอยู่ในคำสั่ง <A HREF...>
ตัวอย่าง

จากรูป จะได้ผลลัพธ์ดังรูปด้านล่างนี้


ซึ่งไฟล์ menu.html จะมีการเขียนดังนี้


จากตัวอย่าง ถ้าต้องการดูผลลัพธ์สามารถดูได้โดยการกดปุ่มตัวอย่างด้านล่างครับ และ สังเกตว่าเมื่อเรามีการคลิกที่รายการต่าง ๆ ที่อยู่ใน Frame1 ข้อมูลต่าง ๆ ก็จะไปปรากฎอยู่ ใน Frame2





Create By Mr.Phadungsak Sangsawong | ICQ # is 36212331
Copyright 1999 A.C.T. All rights reserved.
Last Modify : 18/01/2000