สารบัญ
Introducetion
Basic
Format
List
Picture
Link
Table
Frame
Form


สารบัญเรื่อง

* รูปแบบของ HTML
* กฎเกณฑ์ในการใช้ HTML
* การทำงานของ HTML กับ Browser
* โปรแกรมสำหรับการเขียนโฮมเพจ
* สิ่งจำเป็นสำหรับการเขียนโฮมเพจ
* โครงสร้าง HTML พื้นฐาน
* เริ่มต้นการเขียนเวปเพจด้วยภาษา HTML เบื้องต้น
- การกำหนดชื่อเอกสารให้แสดงบน Browser
- การกำหนดขนาดของอักษรในหัวเรื่อง
- การกำหนด Footer
- เพิ่มหมายเหตุเพื่อเตือนความจำ
- การขึ้นบรรทัดใหม่และวรรคใหม่


รูปแบบของ HTML
มีศัพท์อยู่ 2 คำที่เราควรทราบเกี่ยวกับการสร้าง Web Page ด้วย HTML ได้แก่
- text หมายถึง ข้อความทั่ว ๆ ไปในเว็บเพจ
- tag หมายถึง คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบของ text โดยคำสั่งของ text โดยคำสั่งของ HTML จะอยู่ภายในเครื่องหมาย < และ >
ตัวอย่าง
This is <B>Assumption College Thonburi</B>

ความหมาย
- <B> และ </B> คือ Tag โดยทั่วไปจะมี Tag เริ่มต้นและ Tag จบท้ายโดยจะใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ มีผลเหมือนกัน จากตัวอย่างหมายถึงการทำข้อความ Assumption College Thonburi ให้เป็นตัวเข้ม ผลลัพธ์ที่ได้คือ
ผลลัพธ์ This is Assumption College Thonburi ซึ่งเป็นตัวหนา

- ส่วนข้อความที่ไม่ได้อยู่ใน tag <และ> ถือว่าเป็นข้อความหรือ Text ทั่วไปทั้งสิ้น



กฎเกณฑ์ในการใช้ HTML
>> แต่ละ Tag จะต้องอยู่ในเครื่องหมาย < > เท่านั้น
>> จะใช้ตัวพิมพ์ตัวเล็กหรือใหญ่ก็ได้ มีความหมายเดียวกัน เช่น <title>, <Title> หรือ <TITLE> ต่างก็ให้ความหมายเดียวกัน
>> แทบทุก Tag จะมี Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมี/รวมอยู่ด้วย แต่ก็มีบาง Tag ที่ไม่มีตัวปิด เช่น <BR>, <P> เป็นต้น
>> ในการพิมพ์เอกสาร HTML นั้นจะพิมพ์ติดต่อกันทั้งข้อความและคำสั่งหรือพิมพ์แยกบรรทัดหรือเคาะช่องว่างก็แล้วแต่ผู้พิมพ์ แต่การพิมพ์ให้ดูสวย งามจะทำให้ง่ายต่อการอ่านและแก้ไขในภายหลัง





การทำงานของ HTML กับ Browser
ปกติถ้าเรานำข้อมูลที่สร้างจากโปรแกรมทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ HTML มาแสดงใน Web Browser ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ถูกต้องตามเอกสารต้นฉบับ เนื่องจากตัว Browser ไม่เข้าใจในโครงสร้างของข้อมูล แต่ก็จะแสดงผลให้โดยนำข้อความทั้งหมดมาต่อกัน

ตัวอย่างที่ 1 เป็นตัวอย่างของเอกสารโดยทั่วไปที่ไม่มีการใช้คำสั่งของ HTML

จากภาพตัวอย่างเป็นไฟล์เอกสารที่พิมพ์จาก Notepad บนวินโดวส์ ซึ่งถ้าเรา นำไปเปิดใน Web Browser จะได้ผลลัพธ์โดยการกดปุ่มด้านล่างนี้

ตัวอย่างที่ 2 เป็นตัวอย่างของเอกสารโดยทั่วไปที่ใช้คำสั่ง HTML

จากภาพจะเป็นไฟล์เอกสารที่มีการใช้คำสั่ง HTML ซึ่งเมื่อมีการนำไปเปิดใน Web Browser จะได้ผลดังปุ่มด้านล่างนี้
บราวเซอร์เป็นเครื่องมือสำหรับแปลภาษา HTML ที่แปลคำสั่งต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา ซึ่ง ถ้าโครงสร้าง ๆ แบบผิด ๆ ผลลัพธ์ที่แสดงก็จะแสดงออกมาแบบผิด ๆ แต่ถ้าโครสร้าง ถูกต้องเราก็จได้ผลลัพธ์ตามต้องการโดยจะไม่มีการบอกถึงความผิดพลาด (Error) ที่ตำแหน่ง ใด ๆ เหมือนกับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ แต่จะแสดงผลลัพธ์ให้เห็นเลย ดังนั้นผู้เขียน จึงจำเป็นต้องค้นหาส่วนที่ผิดให้ได้ด้วยตนเอง





โปรแกรมสำหรับการเขียนโฮมเพจ
การเขียนโฮมเพจนั้น เราสามารถใช้โปรแกรมสำหรับเขียนภาษา HTML ได้ หลายตัว ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมสำหรับเขียน Web Page มีอยู่ด้วยกันมาก มาย เช่น Homesite, Hotdog, Nestcape Editor, FrontPage, NetObject และ อื่น ๆ อีกมากมาย แต่ถ้าผู้ใช้ไม่มีโปรแกรมเหล่านี้ เราก็สามารถเขียนได้ โดยการใช้โปรแกรมที่มากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ให้มาได้อย่าง ง่าย ๆ คือ Notepad ครับ





สิ่งจำเป็นสำหรับการเขียนโฮมเพจ
ขอแนะนำคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับบุคคลที่สนใจจะนำมาใช้เพื่อการสร้าง WebPage
  • CPU อย่างน้อยควรเป็นรุ่น 486 DX ขึ้นไป
  • หน่วยความจำอย่างน้อย 8 MB (ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ)
  • พื้นสำหรับเก็บ WebPage อย่างน้อย 30 MB
  • โมเด็มความเร็วอย่างน้อยควรอยู่ที่ 28.8 Kbps
  • ระบบมัลติมีเดีย
  • โปรแกรม Web Browser ได้แก่ Netscape Navigator หรือ Internet Explorer





    โครงสร้าง HTML พื้นฐาน
    โครงสร้างพื้นฐานของภาษา HTML เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนได้แก่ Head และ Body ซึ่งภาษา HTML จะ เกี่ยวข้องกับการกำหนดหัวข้อของ Web Page และภาษา HTML ในส่วนของ Body ก็จะเป็นส่วนของ รายละเอียดสำหรับ Web Page ดังโครงสร้างด้านล่างนี้ครับ

    <HTML>
    <HEAD>
    <TITLE> หัวข้อของ WebPage ซึ่งจะปรากฎที่ Title Bar ของวินโดว์ </Title>
    </HEAD>
    <BODY>
    เป็นส่วนที่ใส่เนื้อหา และข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ การเชื่อมโยงต่าง ๆ
    ที่ปรากฎใน WebPage
    </BODY>
    </HTML>

    ตัวอย่าง

    จากภาพจะเป็นการใช้คำสั่ง HTML พื้นฐาน ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งที่จะต้องยึดถือ เป็นโครงสร้างของภาษา HTML ที่ทุก WebPage นั้นจำเป็นต้องมี เพื่อ ให้การแสดงผลเป็นไปตามที่ได้ตั้งไว้รวมไปถึงการเข้ากันได้ของโปรแกรม Web Browser ที่ มีหน้าที่แปลภาษา HTML ให้เป็นเอกสาร HTML โดยสมบูรณ์และเพื่อความถูกต้องตามหลักของ โครงสร้างในภาษา HTML ซึ่งจากรูปจะได้ผลลัพธ์ ตามที่คุณกดที่ปุ่มด้านล่างนี้ครับ




    เริ่มต้นการเขียนเวปเพจด้วยภาษา HTML เบื้องต้น
    การกำหนดชื่อเอกสารให้แสดงบน Browser
    <TITLE> หัวเรื่อง </TITLE>

    เราสามารถแสดงชื่อเนื้อเรื่องไว้ใน Browser ได้ด้วยคำสั่ง <TITLE> และ </TITLE> โดยจะต้องวางไว้ระหว่างคำสั่ง <HEAD> และ </HEAD> เสมอ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    ตัวอย่าง

    จากรูป ถ้าคุณต้องการดูผลลัพธ์ คุณสามารถดูผลลัพธ์ได้ด้วยการกดปุ่มด้านล่าง โดยการสังเกตที่ตรง Title Bar ของวินโดวส์ที่เปิดขึ้นครับ




    การกำหนดขนาดของอักษรในหัวเรื่อง
    <Hn> ข้อความ </Hn>

    กรณีที่เอกสารถูกแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ส่วน และเราต้องการกำหนดขนาดของตัวอักษรในแต่ละส่วน (Section) ให้ แตกต่างกันออกไป เราก็ทำได้โดยง่าย โดยการใช้คำสั่ง <Hn> และ </Hn> โดย n แทนตัวเลข 1 ถึง 6 โดย 1 คือ ขนาดที่เล็กที่สุด และ 6 คือขนาดที่ใหญ่ที่สุด แก้ไขขนาดเองไม่ได้ เนื่องจากกำหนดมาไว้แล้วในตัวโครงสร้างของภาษา HTML โดย คำสั่ง Headline จะอยู่ระหว่างคำสั่ง <BODY> และ </BODY> ซึ่ง ข้อความที่ถูกกำหนดด้วย Headline จะเริ่มต้นบรรทัดใหม่ทุกครั้ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ตัวอย่าง

    จากรูป ถ้าคุณต้องการดูผลลัพธ์ คุณสามารถดูผลลัพธ์ได้ด้วยการกดปุ่มด้านล่าง โดยการสังเกตที่ตรงขนาดของอักษรที่แตกต่างกันครับ




    การกำหนด Footer
    <ADDRESS> ข้อความ </ADDRESS>

    เป็นข้อความที่นิยมใส่ไว้ด้านล่างของเอกสาร เช่น ที่อยู่ที่เราติดต่อได้ คำสั่ง <ADDRESS> และ </ADDRESS> ซึ่ง ข้อความที่อยู่ระหว่าง Tag นี้จะถูกกำหนดให้เป็นตัวเอน (Italic) โดยอัตโนมัติ

    ตัวอย่าง

    จากรูป ถ้าคุณต้องการดูผลลัพธ์ คุณสามารถดูผลลัพธ์ได้ด้วยการกดปุ่มด้านล่าง โดยการสังเกตที่ตรงด้านล่างของหน้าต่างที่เปิดขึ้นครับ




    เพิ่มหมายเหตุเพื่อเตือนความจำ
    เราควรเขียนหมายเหตุไว้ในส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมเพื่ออธิบายการทำงาน เพราะเราอาจหลง ลืมโปรแกรมที่เราเขียนขึ้นมาก็ได้ หรือต้องส่งต่อให้ผู้อื่นไปทำการปรับปรุงแก้ไข หมายเหตุมีรูปแบบดังนี้

    <! ข้อความที่เป็นหมายเหตุ >

    หมายเหตุจะปรากฎในตัวโปรแกรมที่เราเขียนเท่านั้น ไม่ถูกนำมาแสดงเมื่อเปิดดูทางโปรแกรม Web Browser ดัง ตัวอย่างด้านนี้เป็นโปรแกรมที่มีการบอกหมายเหตุ เพื่อช่วยในการอธิบายโปรแกรม โดยเมื่อเราใช้ โปรแกรม Web Browser เปิดโปรแกรมตัวนี้ขึ้นมาก็จะไม่เห็นข้อความที่อยู่ใน Tag หมายเหตุเลย

    ตัวอย่าง

    จากรูป ถ้าคุณต้องการดูผลลัพธ์ คุณสามารถดูผลลัพธ์ได้ด้วยการกดปุ่มด้านล่าง โดยการสังเกตที่ส่วนของ Body ว่าจะไม่มีข้อความที่อยู่ Tag หมายเหตุปรากฎอยู่ครับ




    การขึ้นบรรทัดใหม่และวรรคใหม่
    เราสามารถจัดข้อความต่าง ๆ บน WebPage ได้โดยการใช้คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่ <BR> หรือคำสั่งขึ้นย่อหน้าใหม่ คือคำสั่ง <P>

    ตัวอย่าง

    จากภาพจะสังเกตว่า เมื่อเราต้องการให้ข้อความช่วงใดขึ้นบรรทัดใหม่หรือขึ้นย่อหน้าใหม่เราก็ จะใส่ Tag คำสั่งเหล่านั้นลงไปเลยนะครับ
    จากรูป ถ้าคุณต้องการดูผลลัพธ์ คุณสามารถดูผลลัพธ์ได้ด้วยการกดปุ่มด้านล่าง โดยการสังเกตที่ข้อความที่ถูกกำหนดให้ขึ้นบรรทัดใหม่หรือ ขึ้นย่อหน้าใหม่มีความเปลี่ยนแปลง คือข้อความจะมีการขึ้นบรรทัดใหม่และขึ้นย่อหน้าใหม่ครับ และความแตกต่าง อีกอย่างหนึ่งคือ ระยะบรรทัดของการขึ้นบรรทัดใหม่จะสั้นกว่าการขึ้นย่อหน้าใหม่ครับ



  • Create By Mr.Phadungsak Sangsawong | ICQ # is 36212331
    Copyright 1999 A.C.T. All rights reserved.
    Last Modify : 18/01/2000